วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

สบู่ที่คุณใช่ปลอดภัยจากสารปรอทหรือไม่

จากในปัจจุบันที่ทุกวันนี้สบู่ผิวขาวได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้อาจมีการทำสินค้าปลอมมาขาย หรือ อาจมีบางยี่ห้อที่ผู้ขายผสมสารอันตราย เพราะเป็นการลดต้นทุน และเห็นผลเร็ว ซึ่งสารอันตรายที่นิยมใส่กัน คือ สารปรอท ทำให้ผู้บริโภคอาจเจอสารปรอทที่เป็นสารอันตรายมากกว่าแบบอื่น 
ทางเราจึงได้สุ่มตัวอย่างสบู่จากตามท้องตลาดที่คนนิยมซื้อ และสบู่ที่ดูไม่มีความปลอดภัย โดยทางเราได้ทำการตรวจสอบโดยใช้ ชุดตรวจสอบสารปรอทของ MercUry Test Kit ซึ่งผลการทดลองทั้งหมดไม่สามารถใช้ในทางกฎหมายได้ เพื่อป้องกันการถูกร้องเรียนของทางผู้ผลิต ทางเราขอเซ็นเซอร์ยี่ห้อของสบู่ไว้
 อันตรายจากปรอท
ผิวบริเวณที่ทาอาจคัน ระคายเคืองหรือเกิดการไหม้ แต่สารปรอทไม่ได้ทำอันตรายกับผิวบริเวณที่ทาเท่านั้น ยังมีโอกาสที่จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งสมองและไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเสียการรับรู้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดจากปรอท เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถรักษาหรือทำให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้
มารดาที่ตั้งครรภ์ได้รับสารปรอท ปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไปสู่ทารก ทำให้เด็กมีสมองพิการและปัญญาอ่อน   นอกจากนี้ถ้าทาครีมที่มีส่วนผสมของสารปรอทเป็นเวลานาน ผิวจะบาง แดง แพ้ เกิดผื่นระคายเคือง เล็บที่สัมผัสกับครีมจะบางลง 
ผลกระทบจากการใช้
อาจก่อให้เกิดอาการแพ้เกิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ระยะสั้น โดยเริ่มจากหน้าเห่อคันจนถึงพุพองส่วน
ระยะยาว  สำหรับกรณีใช้ติดต่อกันนานๆ จะเกิดการสะสมของสารปรอทอยู่ใต้ผิว ทำให้ผิวคล้ำลง จนหน้ากลายเป็นสีปรอทกล่าวคือมีสีดำอมเทาพอถึงระยะนี้สารปรอทก็หมดฤทธิ์ในการฟอกสีกลายเป็นทำให้ผิวดำกว่าเดิม


วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น
เอาผลิตภัณฑ์ทาผิวแถวท้องแขน แล้วเอาพลาสเตอร์ปิดแผลปิดทับไว้ แล้วก็เอาอีกอันแปะผิวใกล้ๆกัน ทิ้งไว้12ชั่วโมงแกะออก ถ้าผิวที่ทาครีมมันขาวซีดกว่าตรงที่ไม่ได้ทาครีมก็แสดงว่ามีส่วนผสมของสารปรอทที่ให้แปะไว้ 2 อันก็เพื่อเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้การทดสอบด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถสรุปผลได้ 100% ว่าครีมมีส่วนผสมของสารปรอทหรือไม่ หากต้องการผลแน่นอน 100% ควรใช้ชุดตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์

วิธีการตรวจสอบสารปรอทโดยใช้ชุดตรวจสอบ
    1. ถูสบู่กับน้ำให้ขึ้นฟอง
    2. ตักเนื้อสบู่ขึ้นมาโดยใช้ช้อนตวง
    3. หยดน้ำยาลงไป
    4. ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วเทียบกับแถบสีมาตรฐาน

ผลการตรวจ
- ถ้าพบสีว่าสีเข้มขึ้น ผลเป็น + แสดงว่ามีการปนเปื้อนของสารปรอท
- ถ้าพบว่าสีไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผลเป็น -  แสดงว่าไม่มีการปนเปื้อนของสารปรอท

ทางเราได้จัดกลุ่มสบู่ที่ได้มาทั้งหมด 4กลุ่ม คือ
1.กลุ่ม A คือ สบู่ยี่ห้อดังที่วางขายทั่วไป
2. กลุ่ม B คือ สบู่ที่มีรีวิวและแม่ค้าแนะนำว่าทำให้ผิวขาวเร็ว

3.กลุ่ม C คือ สบู่ที่โฆหษณาสามารถทำให้ผิวขาวได้อย่างรวดเร็ว
 4.กลุ่ม D คือ สบู่ที่ไม่มียี่ห้อ ที่คนขายแนะนำว่าทำให้ขาวอย่างรวดเร็ว


ผลการทดลองที่ได้




สรุปผลการทดลอง

ตัวอย่างสบู่ทีตรวจพบการปนเปื้อนของสารปรอท เป็นสบู่ที่มีการโฆษณาว่าทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หาซื้อได้จากตลาดและอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะสบู่ที่ไม่มี อย. และยี่ห้อ ส่วนมากของสบู่ที่ตรวจพบสารปรอทมีราคาค่อนข้างแพง ส่วนสบู่ยี่ห้อดังที่วางขายทั่วไปตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารปรอท